Thursday, March 31, 2016

ตัวอย่างแสดงการใช้ระบบ workflow ควบคุมการเบิกจ่ายตะกั่วเหลว ในโรงงานอีเลกทรอนิกส์


สวัสดีครับ คราวนี้เป็นบทความที่สองที่ผมจะลองยกตัวอย่างประยุกต์ จากปัญหาหนึ่งในโรงงานอิเล็กทรอนิกส์ เรื่องมีอยู่ว่าหน่วยงานวิศวกรรมแผนกหนึ่งมีหน้าที่ควบคุมตะกั่วเหลว ที่เป็น raw material ในกระบวนการผลิตและประกอบแผงวงจรไฟฟ้าอีเล็กทรอนิกส์ ปัญหามีอยู่ว่ากระปุกตะกั่วเหลวจะต้องเก็บไว้ในตู้เย็นเพื่อควบคุมอุณหภูมิ ก่อนนำไปใช้งานจะต้องมี operator หยิบออกมาแล้วนำมาวางข้างนอกตั้งทิ้งไว้เป็นเวลา 6 ชั่วโมงจึงจะสามารถเบิกไปทำขั้นตอนต่อไป ปัญหาก็คือเมื่อมี auditor จาก QA มาตรวจสอบ process แล้วถามหาหลักฐานว่า มีอะไรยืนยันได้ว่าตะกั่วเหลวกระปุกนี้ นำออกมาวางเป็นเวลาครบ 6 ชั่วโมงแล้ว?”
ทำไมถึงให้ความสำคัญ คำตอบเพราะถ้าตะกั่วเหลวไม่ผ่านกระบวนการที่ถูกต้องตาม process แล้ว เมื่อถูกจ่ายเข้าไปใน line ผลิต จะต้องเสียเวลา และแรงงานในการ rework เป็นการสูญเสียเงินที่บริษัทต้องใช้เพิ่มโดยไม่จำเป็น และถ้าหลุดไปถึงลูกค้าก็จะทำให้เกิดความเสียหาย และเสียภาพลักษณ์ขององค์กร จึงถือว่ามีความสำคัญมาก

วิธีแก้ปัญหานี้ก็มีหลากหลาย ตามมุมมองของแต่ละคนครับ เช่นในมุมมองของวิศวกร ก็คิดว่าน่าจะหาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มาจับเวลาและมีโปรแกรมบันทึกข้อมูลลงฐานข้อมูล นี่ก็เป็นแนวคิดที่แก้ปัญหาได้เหมือนกัน ถ้าเป็นท่านผู้อ่านจะคิดอย่างไรครับ สำหรับผมก็จะประยุกต์เรื่อง workflow มาช่วยควบคุมกระบวนการ และมีหลักฐานยืนยันที่แน่นอนชัดเจนให้กับ auditor ได้  ชักน่าสนใจขึ้นแล้วใช่ไหมครับ

เอาละครับเรามาดูกันเลยดีกว่าครับ ก่อนอื่นขอให้ทราบก่อนว่า นี่เป็นอีกตัวอย่างที่จะทำให้เห็นชัดๆว่าระบบ workflow ไม่ใช่เป็นเรื่องของการ flow ของเอกสารและการ approve เอกสาร เหมือนที่หลายๆคนเข้าใจผิดมาโดยตลอด และอีกเรื่องคือจะไม่ได้แสดงแต่ละขั้นตอนเหมือนบทความแรก แต่จะแสดงให้เห็นถึงจุดที่ workflow จะมาใช้เพื่อเป็นหลักฐานยืนยันตอบคำถาม auditor ได้ครับ เรามาเริ่มต้นกันด้วยการศึกษา flow การทำงานกันก่อน

รูปที่ 1
 



ต่อมาเรามาวิเคราะห์ปัญหา และออกแบบระบบเพื่อแก้ปัญหา พร้อมทั้งชี้แจงให้เห็นประโยชน์ในระบบ
รูปที่ 2
รูปที่ 2 แสดงให้เห็นถึงประโยชน์ที่จะได้รับจากระบบ

รูปที่ 3
รูปที่ 3 เป็นบุคคลสมมุติ ที่ใช้ในการ demo เพื่อแสดงให้เห็นแบบเสมือนจริง ว่ามีบุคคลต่างๆ ในกระบวนการทำงานนี้



รูปที่ 4
รูปที่ 4 และ รูปที่ 5  แสดงสถาณการณ์สมมุติ ที่จะใช้ในการ demo
 
 
รูปที่ 5
รูปที่ 5 ยังแสดงให้เห็นถึงผลพลอยได้ ที่ได้จากระบบ



รูปที่ 6
รูปที่ 6 แสดงให้เห็นถึงการ tracking ตะกั่วเหลว กระปุกหนึ่ง


รูปที่ 7
รูปที่ 7 เมื่อระบบ workflow ถูกสั่งให้ทำการควบคุมการทำงานของกรปุกตะกั่วเหลว หลังจากนำออกมาวางจากตู้เย็นแล้วเป็น เวลาครบ 6 ชั่วโมง ระบบจะ alert โดยแจ้งข่าวสารทาง email โดยอัตโนมัติ และการกำหนดงานให้บุคคลใน process ต่อไปรับทราบ ซึงสามารถมองเห็นได้ผ่าน UI

รูปที่ 8
รูปที่ 8 แสดงการให้เห็นว่าระบบ workflow จะแจ้งให้บุคคลที่เกี่ยวข้องในกระบวนการถัดไปทราบโดยอัตโนมัติ เมื่อเวลาครบ 6 ชั่วโมง
 
รูปที่ 9
รูปที่ 9 แสดงข้อความข่าวสารใน email ยังบอกรายละเอียดที่ถูกต้องและจำเป็น เช่นในกรณีนี้ระบบแจ้งให้ทราบว่ากระปุกตะกั่วเหลว หมายเลข 73 ครบ 6 ชั่วโมงแล้ว ดังนั้นผู้ปฏิบัติงานจะต้องไปหยิบกระปุกตะกั่วเหลวหมายเลข 73มารอขั้นตอนการการปั่น
 
 
รูปที่ 10
รูปที่ 10 แสดงให้เห็นถึง process ที่เสร็จสมบูรณ์แล้ว พร้อมที่จะให้เบิกไปใช้ใน line ผลิต พิจารณาแล้วจะเห็นว่าระบบสามารถ tracking ได้ทุกขั้นตอน ทำให้สามารถตอบคำถาม auditor ได้ว่า ในแต่ละขั้นตอนได้ทำงานแล้วเสร็จเมื่อวันที่เท่าไร และเวลาอะไร
 
หมายเหตุ: สิ่งที่ผู้เขียนไม่ได้นำมาแสดงคือ หน้า Web Page ที่สามารถแสดงกระปุกตะกั่ว ที่อยู่ในขั้นตอนต่างๆของกระบวนการ ตามที่ได้ออกแบบเอาไว้ โดยใช้เพียงเรื่องการใช้ view และการ grouping ที่เป็น feature ที่มีอยู่แล้วบนระบบ SharePoint ทำให้ทราบรายละเอียดใน work in process ว่ามีจำนวนเท่าไร และเป็นกระปุกตะกั่วหมายเลขอะไรได้ แบบ real-time
 
สรุป  นี่ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งนะครับที่จะทำให้ผู้อ่าน เกิดมุมมองเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้ระบบ workflow เพื่อควบคุมกระบวนการทำงานให้เป็นไปโดยอัตโนมัติ ซึ่งในอนาคตจะมีการนำเอาเทคนิคนี้ใช้งานกันมากขึ้นและแพร่หลายขึ้น เหมือนในต่างประเทศ
โปรดติดตามบทความต่อไป จะเป็นการประยุกต์ใช้ระบบ workflow ที่ซับซ้อนมากขึ้น และจะมี live demo
ความยาว 66 นาทีให้เห็นขั้นตอนและหน้าจอต่างๆที่ใช้งาน อย่าลืมติดตามนะครับ

 
ศยามพล เชื้อแพทย์  MCTS (MOSS 2007)
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

 

No comments:

Post a Comment